โศกนาฏกรรมที่น่าเศร้าที่สุดจากคดีของ Elisa Lam ใน Crime Scene : The Vanishing at the Cecil Hotel ไม่ใช่แค่ผู้ป่วยจิตเวชฆ่าตัวตาย แต่คือ “วัฒนธรรมสำเร็จความใคร่ทางศีลธรรม” ที่ฆาตกรรมคนเป็น

โศกนาฏกรรมที่น่าเศร้าที่สุดจากคดีของ Elisa Lam ใน Crime Scene : The Vanishing at the Cecil Hotel ไม่ใช่แค่ผู้ป่วยจิตเวชฆ่าตัวตาย แต่คือ “วัฒนธรรมสำเร็จความใคร่ทางศีลธรรม” ที่ฆาตกรรมคนเป็น


ซีรีส์เชิงสารคดีเรื่อง Crime Scene : The Vanishing at the Cecil Hotel ที่สตรีมทาง Netflix ตอนนี้ เป็นสารคดีระทึกขวัญเกี่ยวกับคดีการตายของ Elisa Lam เมื่อปี 2013 ที่เป็นคดีสะเทือนขวัญคนมากมายไม่เพียงในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น เพราะด้วยความที่มีปมปริศนามากมายจนเจ้าหน้าที่ตำรวจแทบทำงานกันไม่ทัน จึงมีการเผยแพร่คลิปวิดิโอจากล้องวงจรปิดในลิฟต์ที่โรงแรม Cecil อันเป็นที่เกิดเหตุ ซึ่งปรากฏเป็นภาพของ Elisa Lam ที่มีท่าทางแปลก ๆ ราวกับกำลังหนีและพูดคุยอยู่กับคนที่ไม่มีใครมองเห็นจนมองดูน่าขนลุก

ทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่คนทั่วไปที่ได้ดูคลิปวิดิโอนี้ ตั้งตนเป็น “นักสืบอาสา” ช่วยตำรวจสืบคดี ด้วยการตั้งข้อสังเกต ขุดค้นข้อมูล จนเมื่อยิ่งนานวันหลายคนยิ่งถลำลึกกับข้อมูลและคดีนี้ จนเกิดความ “หมกมุ่น” รู้สึกประหนึ่งตนเป็นผู้เกี่ยวข้อง และปักใจเชื่อข้อสังสัยต่าง ๆ ของตน จนไม่ศรัทธาการทำงาน และหลักฐานสำคัญต่าง ๆ จากเจ้าหน้าที่ผู้รูปรูปคดีทั้งหมด

ทำให้ซีรีส์สารคดีเรื่องนี้ไม่เพียงทำให้สะเทือนขวัญ ด้วยความลึกลับของคดี บรรยากาศความน่ากลัวและสิ้นหวังของโรงแรมที่เกิดเหตุ และการไขเบาะแส แต่ยังมี “โศกนาฏกรรม” อื่น ที่เกิดจากการที่คนมากมายเริ่มตั้งตนเป็น “ผู้พิพากษา” กันและกันเอง

ภาพจาก : https://image-cdn.hypb.st/https%3A%2F%2Fhypebeast.com%2Fimage%2F2021%2F01%2Fnetflix-elisa-lam-crime-scene-the-vanishing-at-the-cecil-hotel-docuseries-announcement-001.jpg?q=75&w=800&cbr=1&fit=max

ความอันตรายจากการที่มนุษย์ตั้งตนเป็น “ฮีโร่” และสถาปนาตนเป็น “ผู้พิทักษ์ความดี” คือ ย่อมมีการสถาปนาผู้เป็น “ฝ่ายอธรรม” และตามมาด้วยการตั้ง “ศาลเตี้ย” เพื่อพิพากษาคนเหล่านั้นในทางใดทางหนึ่ง

และในคดีนี้ “เหยื่อ” ในการถูกดึงให้มารับบท “วายร้าย” คือ “Pablo C. Vergara” ศิลปินเมทัลร็อคที่ใช้ชื่อวงตัวเองว่า “Morbid” เนื่องจากเหล่ายอดนักสืบอาสาผู้พิทักษ์คุณธรรม ที่ตั้งตนเป็นผู้สืบไขคดีของ Elisa Lam ไปพบเขาในช่อง Youtube ของเขาเอง และสืบสาวจนพบว่า Pablo เคยไปที่โรงแรม Cecil มาก่อน และที่สำคัญเนื้อหาเพลงของ Pablo และสิ่งต่าง ๆ ที่เขาพูดยังเชื่อมโยงกับ “ความตาย” การฆาตกรรม การบูชายัญต่าง ๆ รวมทั้งภาพของฆาตรกรต่อเนื่องและอาชญากรที่เคยอยู่ในโรงแรม Cecil มาก่อนที่ Pablo ติดไว้ในห้องของเขาทำให้ Pablo ถูกตัดสินว่าเป็นสมาชิกลัทธินอกรีตหัวรุนแรง ที่สามารถเป็นผู้ต้องสงสัยในการฆาตกรรม Elisa Lam ทันที

ภาพจาก : https://static3.srcdn.com/wordpress/wp-content/uploads/2021/02/Crime-Scene-The-Vanishing-At-The-Cecil-Hotel-Pablo-Vergara-Morbid.jpg?q=50&fit=crop&w=740&h=370

การที่เหล่ายอดนักสืบอาสา รู้สึกว่าตนได้ทำประโยชน์ให้สังคม ด้วยการยื่นมือเข้ามาช่วยงานตำรวจ อาจทำให้พวกเขาใช้การอาสาเหล่านี้เป็น “Moral License” หรือ “บัตรผ่านความดี” ที่ทำให้พวกเขารู้สึกมั่นใจว่ามีสิทธิ์ตัดสินคนอื่น และกล้าที่จะ “ลงดาบ” คนอื่นด้วยความชอบธรรม

เพราะหลังจากที่เหล่า “คนดีย์” ได้พบกับตัวร้ายอย่าง Pablo แล้ว ก็มีการรุมกระหน่ำข้อความ Hate speech ใส่เขาทั้งหน้าไมค์และหลังไมค์ รุม report คลิปวิดิโอของเขา มีการว่าร้ายผลงานของเขา และกระจายความเชื่อว่า “Pablo คือฆาตกร” ออกไปเป็นวงกว้าง แม้ว่าเขาจะออกมายืนกรานว่าเขาคือผู้บริสุทธิ์ และงานทุกชิ้นของเขาเป็นเพียง “ศิลปะ” ในแบบของเขา ไม่ได้บ่งบอกว่าเขาชื่นชอบการฆาตกรรม หรือเกี่ยวข้องกับการฆ่า Elisa Lam แต่อย่างใดก็ตาม

ภาพจาก : https://pisco.meaww.com/60a55374-dd22-4e45-b9ca-2c09523ba661.jpg

ความจริงที่โหดร้ายคือ มนุษย์ “ตัดสิน” กันตลอดเวลา ไม่ว่าคนตรงหน้าจะมีส่วนได้ส่วนเสียใด ๆ กับชีวิตตนหรือไม่ก็ตาม
โดยกระบวนการเวลาคนเราจะ “ตัดสิน” ใครสักคน มีอยู่สองขั้นตอน
ขั้นที่ 1 คือการพิจารณาว่า คนๆ นี้ เป็น “เพื่อน หรือ ศัตรู” โดยพิจารณาจาก “ความรู้สึก” ว่าคนๆ นี้ดูเป็นมิตรหรือไม่
ขั้นที่ 2 คือการพิจารณาว่าคนๆ นี้ “มีความสามารถ” หรือไม่

และผู้ที่ถูกตัดสินว่าบกพร่องในข้อใดข้อหนึ่ง ย่อมมีแนวโน้มที่จะได้รับการตอบสนองที่ไม่ดี เช่น คนรวย(มีความสามารถในการหาเงิน)ที่เป็นมิตร ถูกมองว่าเป็นคนดี แต่คนรวยเหมือนกันที่ดูไม่เป็นมิตร อาจถูกมองว่าเป็นพวก “คนขี้โกง” ฯลฯ

ฉะนั้น Pablo C. Vergara ที่ไม่ว่าจะออกมาแก้ต่างด้วยคำอธิบายอย่างจริงใจแค่ไหน พร้อมด้วยหลักฐานที่ว่าเขาเคยไปพักที่โรงแรมนั้นจริง แต่เป็นในปีก่อนที่จะเกิดคดีนี้ขึ้นก็ตาม แต่เมื่อเขาถูกตัดสินว่าเป็นศิลปินลัทธิซาตาน ที่หัวรุนแรง หลงใหลในการฆ่า หมกมุ่นในความตาย สังคมก็พร้อมที่จะเชื่ออย่างสุดใจว่าเขาเป็นคนชั่วช้า และเป็นฆาตกรอย่างแน่นอน

ภาพจาก : https://occ-0-1068-1723.1.nflxso.net/dnm/api/v6/6AYY37jfdO6hpXcMjf9Yu5cnmO0/AAAABQaclipy0caKiUZWp2IxoJrmBtQxRVH2GLs9e_XdalZMGknG28zVOQryILQtb0yC5ttcgf6lzbvAbkWswbMHAUGZ6ZIc.jpg?r=5b0

และในขณะที่มนุษย์ตัดสินกันตลอดเวลา บ่อยครั้งเราตัดสินกันจาก “อัตลักษณ์ภายนอก” และภาพของ “คนชั่ว” หรือ “ฆาตกร” ก็มักถูกจำกัดเป็นพิเศษสำหรับคนที่มีบุคลิกคล้าย “คนไม่มีศาสนา” หรือ “นอกรีต” หรือห่างไกลจากมาตรฐานความดี สงบ นุ่มนวล ของสังคม เช่น คนที่ชอบแต่งตัวตามแฟชั่น Emo คนเจาะร่างกาย สักบนร่างกาย แต่งหน้าเข้ม ผู้หญิงที่แต่งตัวเปิดเผยเนื้อหนังมาก ฯลฯ พวกเขามักตกเป็นจำเลยสังคม ถูกมองเป็นขยะสังคม คนบาป อาชญากร ตัวก่อความไม่สงบ ทั้งที่แท้ที่จริงแล้วทุกคนแค่มี “ทางเลือก” ความคิด รสนิยม และความเชื่อเป็นของตัวเอง โดยไม่สมควรมีอัตลักษณ์แบบใดถูกตัดสินให้ด้อยค่า หรือมีความชั่วช้ามากไปกว่ากัน

ภาพจาก : https://static.hollywoodreporter.com/wp-content/uploads/2021/02/CrimeScene_TheVanishingattheCecilHotel_Season1_Episode4_00_41_57_11-H-2021-1612819837-1024×577.jpg

แม้แต่ลัทธิที่กลายเป็น “ตัวร้าย” ยอดฮิตในสังคมโลกอย่าง “Satanism” หรือ “ลัทธิซาตาน” ที่เป็น “ขั้วตรงข้าม” กับศาสนาที่เป็นที่นิยมที่สุดในโลก ซึ่งสัมพันธ์กับวัฒนธรรมแบบ Gothic แฟชั่น Emoและไม่เชื่อในพระเจ้าองค์เดียว
ความจริงแล้วสมควรถูกเรียกว่า “นอกรีต” จริงหรือ ?

“ลัทธิซาตาน” ก่อตั้งขึ้นในปี 1966 และมีผู้ก่อตั้งชื่อว่า Anton Lavey ซึ่งปัจจุบันถูกนำเสนอตามสื่อต่าง ๆ ในภาพของลัทธิที่เอ็นจอยกับ “บาป” และตัณหาทางโลก ส่วนศาสนิกอาจมีการจับสิ่งมีชีวิตมาบูชายัญ กรีดเลือดทำพิธี หรือแม้กระทั่งเสพย์สังวาสกันในพิธีศักดิ์สิทธิ์ของลัทธิ ทำให้คนที่มีคาแรคเตอร์ใกล้เคียงสัมพันธ์กับความเชื่อและวัฒนธรรมนี้ถูกตีตราว่าเป็น “ปีศาจ” เสมอ

แต่ความจริงแล้ว คำว่า “Satanist” นี้เป็นเพียงคำที่สมัยโบราณใช้เรียกกลุ่มคน “ฝ่ายตรงข้าม” เพื่อการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย โดยผู้คนในลัทธินี้เองก็นิยามคำว่า “Satan” ว่ามาจากคำว่า Sat และ Truth ซึ่งในภาษาสันสกฤตแปลว่า “ความจริง” อีกทั้งยังไม่ได้มีแนวคิดความเชื่อในทางชั่วร้ายใด ๆ และไม่เกี่ยวข้องกับ “เทพ Lucifer” ของบางศาสนาแต่อย่างใด

นอกจากมีความ “ตรงข้าม” กับความเชื่อจากศาสนายอดฮิต ด้วยความเชื่อว่ามนุษย์ไม่ควร “กลัว” และก้มหัวรับข้อบังคับ บัญญัติที่พามนุษย์หนีจาก “ธรรมชาติมนุษย์” แต่มนุษย์สามารถพัฒนาจิตวิญญาณได้ ด้วยการโอบรับธรรมชาติของตน แม้กระทั่งความต้องการทางวัตถุ ความปรารถนาต่าง ๆ รวมทั้งแรงขับทางเพศ ที่ล้วนเป็นส่วนสำคัญให้มนุษย์เข้าถึง “ศักยภาพที่ดีที่สุด” ของตน

ภาพจาก : https://decider.com/wp-content/uploads/2021/02/crime-scene-cecil-hotel-morbid.jpg?quality=80&strip=all

ซึ่งสุดท้ายแล้ว สิ่งที่เป็น “โศกนาฏกรรม” และเป็นการฆาตกรรมมนุษย์ได้ทั้งเป็น และเลือดเย็นจริง ๆ ใน Crime Scene : The Vanishing of the Cecil Hotel หรือแม้กระทั่งบนโลกนี้ อาจเป็นการที่มนุษย์หลอกตัวเองว่าตนเป็นคนดีสมบูรณ์แบบ เพื่อมีสิทธิ์ชี้นิ้วใส่คนอื่น ๆ ว่าเป็นวายร้าย เพียงแค่คนเหล่านั้นดูผิดจาก “มาตรฐานความดี” แบบที่ตนเชื่อ ในขณะที่ความจริงมนุษย์ล้วนมีสิทธิ์ที่จะคิด เชื่อ และเป็นอะไรก็ได้ โดยที่ไม่ถูกตีตราว่ามี “มนุษยธรรม” ด้อยไปกว่ามนุษย์แบบอื่น

หลังจากคดีของ Elisa Lam เสร็จสิ้น Pablo C.Vergara เรียกได้ว่าหมดอนาคตในฐานะศิลปินiร็อค และกลายเป็นตัวกาลกิณีในสังคมไปหลายปี อีกทั้งเขายังยอมรับว่าตนหมดไฟ หมดแรง และหมดศรัทธาที่จะทำงาน “ศิลปะ” ของตนต่อไป แถมยังต้องเข้ารับการรักษาโรงพยาบาล เพราะบาดแผลจากคำสาปแช่ง และคำขู่ฆ่าจากสังคม …ซึ่งนี่แหละ เป็นการ “ฆาตกรรมทั้งเป็น” ที่เกิดขึ้นจริง และสะเทือนขวัญไม่แพ้กันกับคดีหลักในซีรีส์เรื่องนี้เลยโดยเฉพาะในขณะที่เหล่าคนดีย์ นักสืบจิตอาสาออกมากล่าวแสดงความเสียใจ อาลัยอาวรณ์ผ่านสารคดีเรื่องนี้ประหนึ่ง Elisa Lam เป็นคนของพวกเขาจริง ๆ กลับไม่มีใครใยดีไปแก้ตัวแก้ต่างให้ Pablo หรือกล่าวขอโทษเขาสักคำจนถึงทุกวันนี้


อ้างอิงข้อมูล

1- https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3915417/#!po=2.17391

2-หนังสือ Witchcraft History โดย อัศนี มูลเมฆ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *