“พ่อบ้านใจกล้า” ไม่โรแมนติก … หยุด Romanticize “อำนาจที่ไม่สมดุล”(Power Imbalance) ในความสัมพันธ์ เพราะอำนาจนิยมอยู่ที่ใด ที่นั่นย่อมมีผู้ถูกกดขี่

ปรากฏการณ์ “พ่อบ้านใจกล้า”
ทำให้มีคำถามมากมายผุดตามขึ้นมา เกี่ยวกับการ romanticize ความสัมพันธ์ที่เป็นพิษ(Toxic Relationship) ของคนไทย
ยังทำให้เห็นว่าคนไทยอยู่กับ “อำนาจนิยม” อย่างชาชินเกินไป จนไม่เคยตระหนักถึง “อำนาจที่ไม่สมดุล” ในความสัมพันธ์

เด็กชายวัย 11 รอดจากการทารุณกรรมโดยครอบครัว เพราะพนักงานเสิร์ฟในร้านอาหารกล้าหาญพอที่จะยุ่งเรื่องชาวบ้าน

สามีภรรยาคู่หนึ่งถูกจับกุมในร้านอาหาร ด้วยข้อหาทารุณกรรมลูกชายวัย 11 ปี หลังจากที่หนักงานเสิร์ฟในร้านสังเกตเห็นความผิดปกติ และร่องรอยการถูกทำร้ายของเด็กชาย และแอบเขียนโน้ตใส่กระดาษเพื่อถามเด็กว่า “ต้องการความช่วยเหลือมั้ย?”

“Run” (2020) หนังที่แสดงให้เห็นภาพของการกดขี่และความรุนแรงในครอบครัวด้วยการ “ผูกมัดความพึ่งพา”

ในขณะที่ความรักที่เหมือนกรงกักขังชีวิตอื่นในครอบครัวไว้ด้วยความ “จำเป็นต้องพึ่งพา” ของคู่แม่ลูกในหนัง เป็นอาชญากรรมร้ายแรงจนคนนอกแม้แต่บุรุษไปรษณีย์ยังตระหนักถึงความรุนแรงและยื่นมือเข้าช่วยเหลือ แต่ “ความรุนแรงในครอบครัว” ลักษณะแบบนี้กลับเป็นเรื่อง “ปกติ” สำหรับครอบครัวไทย ตั้งแต่ความสัมพันธ์ระดับคู่รักเลยทีเดียว

ความรุนแรงในครอบครัว ไม่ใช่ “เรื่องส่วนตัว”

ไม่ว่าเหล่า “เหยื่อ” ความรุนแรงในครอบครัว จะสามารถตระหนักถึง “อำนาจนิยม” ที่ทำให้พวกเขาติดอยู่ในบ่วงความรุนแรงเหล่านั้นหรือไม่
สังคมควรเข้าใจว่า การไปนั่ง educate สร้างความเข้าใจเรื่องพลวัตอำนาจในความสัมพันธ์(Power Dynamic) การสอนว่าพวกเขาควรรักตัวเองได้แล้ว หรือการด่าเพื่อนให้ได้สติไม่กลับไปหาผู้ชายแย่ๆ ที่ทุบตีเธอบ่อยๆ อาจช่วยพวกเขาได้ไม่ทัน
ฉะนั้นการยอมเป็น “หมา” เพื่อลดความเสี่ยงที่ความรุนแรงจะยิ่งทวีมากขึ้นทุกวัน อาจจะคุ้มกว่าหรือเปล่า ?