นักจิตวิทยา Jonathan Marshall Ph.D. เคยอธิบายไว้ว่า “เมื่อคนเราเติบโตมาด้วยความรู้สึกไม่มั่นคงปลอดภัย ทำให้พวกเขาไม่รู้คุณค่าในตัวเอง ส่งผลให้ขาดทักษะการเลือกคู่ครอง และความสัมพันธ์ที่ดี ทั้งยังยอมรับพฤติกรรมแย่ๆ ได้ และคิดว่าการต้องมาตามแก้ปัญหาของคนรักแย่ๆ นั้นเป็นเรื่องปกติ”
ป้ายกำกับ: toxic relationship
ชวนแฟนดูหนังรักแบบไม่เผลอซดยาพิษ ชำแหละหนังรักที่ “ไม่โรแมนติก” แน่ถ้าเกิดขึ้นในชีวิตจริง เพราะมันคือ Toxic Relationship
วันนี้ WE Think มีลิสต์หนังรักที่โรแมนติกไม่สุดมาฝากกัน เพราะความจริงแล้วมันคือ Toxic Relationship เคลือบน้ำตาล และเป็นการ romanticize แนวคิดเกี่ยวกับความโรแมนซ์แบบบิดเบี้ยว ที่อาจเคยทำให้แฟนหนังรักเหล่านี้หลายคนเผลอฝังความเชื่อใส่หัวตัวเองไว้ว่า “ความรักเป็นพิษ” นั้นเป็นเรื่องปกติ
พฤติกรรม “เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย” ทำให้บางคนเสพติด “Toxic Relationship” กลับไปให้เขาทำร้ายวน ๆไป และยอมอยู่กับคนรักที่ไม่ดีต่อใจเหมือนขาดไม่ได้
บางคนที่ปกติแล้วดูมีสติ เซลฟ์ไม่ต่ำ มีความมั่นใจในตัวเอง มีจิตใจเข้มแข็ง แต่ในแง่มุมชีวิตส่วนตัว กลับเป็นคนที่ยอมอยู่ในความสัมพันธ์ที่เป็นพิษ ยอมทนอยู่กับคนรักแย่ๆ
7 ค่านิยมสิ้นคิดสุดคลาสสิคในละครไทย ผลิตซ้ำค่านิยมเป็นพิษสู่สังคม
จากกระแส #ข่มขืนผ่านจอพอกันที #แบนเมียจำเป็น ทำให้เห็นว่าแม้ว่าเราจะมาถึงปีพ.ศ.2564 กันแล้ว แต่เรายังคงเห็นฉาก “ข่มขืน” ล่วงละเมิดทางเพศ ความรุนแรงทางเพศ อยู่ใน “ละครรัก” บนโทรทัศน์ไทยได้อย่างเป็นเรื่องปกติ
ซึ่งไม่ได้เป็นการจรรโลงใจหรือจรรโลงสังคมในทางใดได้เลย นอกจากบ่มเพาะค่านิยม ทัศนคติ และวัฒนธรรมความรุนแรงทางเพศนี้ให้เป็นเรื่องปกติ และเรื่องบันเทิง
Toxic Relationship คืออะไร? ความสัมพันธ์ที่มีเป็น “พิษ” กับชีวิตจิตใจอยู่หรือเปล่า?
Toxic Relationship สัมพันธ์กับการ “ไม่เคารพคุณค่าในตัวเอง” และผู้คนที่รู้สึกว่าตัวเองด้อยคุณค่า จนเชื่อมั่นว่าตนไม่มีสิทธิ์ “เลือก” สิ่งที่ดีกว่าให้ชีวิต จึงต้องยอมติดอยู่ในความสัมพันธ์อันเป็นพิษเหล่านั้น ซึ่งหนึ่งในรูปแบบความสัมพันธ์นั้น อาจรวมถึงความสัมพันธ์ระหว่าง “ประชาชนใจทาส” กับ “รัฐบาลเผด็จการแย่ ๆ” ด้วยก็ได้
“พ่อบ้านใจกล้า” ไม่โรแมนติก … หยุด Romanticize “อำนาจที่ไม่สมดุล”(Power Imbalance) ในความสัมพันธ์ เพราะอำนาจนิยมอยู่ที่ใด ที่นั่นย่อมมีผู้ถูกกดขี่
ปรากฏการณ์ “พ่อบ้านใจกล้า”
ทำให้มีคำถามมากมายผุดตามขึ้นมา เกี่ยวกับการ romanticize ความสัมพันธ์ที่เป็นพิษ(Toxic Relationship) ของคนไทย
ยังทำให้เห็นว่าคนไทยอยู่กับ “อำนาจนิยม” อย่างชาชินเกินไป จนไม่เคยตระหนักถึง “อำนาจที่ไม่สมดุล” ในความสัมพันธ์