หลายวันมานี้มีกระแสที่ทำให้ประชาชนและมวลชนคณะราษฎร 2563 ตื่นตัวเรื่องการ “รัฐประหาร” ที่อาจเกิดขึ้น ทั้งจากท่าที่มั่นใจของทนายอานนท์ นำภา ว่าประยุทธ์ จันทร์โอชาจะต้องออกจากความเป็นนายกรัฐมนตรีอย่างแน่นอน และตั้งแต่วันที่ 22 พฤศจิกายนเป็นต้นมาก็ได้ทวีตเกี่ยวกับวิธีการป้องกันรัฐประหารออกมา แล้วก็มีเพจที่เคลื่อนไหวทางการเมือง รวบรวมวิธีการต่อต้านรัฐประหารออกมา อาทิ เพจ Young Designer For Democracy ฯลฯ
และขอให้กระจายข้อมูลนี้ให้เผยแพร่ออกไปให้มากที่สุด
1.
หากในการชุมนุมใหญ่วันที่ 25 พฤศจิกายน 2563 นี้มีรัฐประหาร…
1. หากคุณอยู่ในการชุมนุมด้วย
- นำสิ่งที่พอหาได้มาตั้งขวางถนนไว้ ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ บังเกอร์ ฯลฯ เพื่อขัดขวางการเคลื่อนกำลังของเจ้าหน้าที่
- ไม่ทำตัวเป็นเป้านิ่ง ไม่จัดตั้งเวที ให้กระจายตัวไปตามท้องถนน หลบกลับเข้าในอาคารก่อน แล้วค่อยออกมาใหม่
2. หากเกิดการก่อ “รัฐประหาร” ขึ้นแล้ว
- ไม่ให้ความร่วมมือกับคณะรัฐประหารทุกประการ และต่อต้านคำสั่ง ไม่อำนวยให้กระบวนการของเผด็จการเป็นไปตามแผนหรือง่ายขึ้น ออกมาชุมนุมต่อกันให้มากที่สุด
- ต่อต้านกระบวนการเกี่ยวกับรัฐประหารทางโซเชียลมีเดีย โดยการรุมรีพอร์ตแอคเคาท์ที่เกี่ยวกับคณะรัฐประหาร รวมไปถึงเหล่า IO และกดแจ้งสแปมภาพและข้อมูลที่เกี่ยวกับคณะรัฐประหาร
- รักษาการใช้สัญลักษณ์ในการต่อต้านต่อไป ไม่ให้กระแสการต่อสู้ตกลงเด็ดขาด
- ชักชวนให้เจ้าหน้าที่ทั้งตำรวจ ทหาร มาอยู่ข้างเดียวกับประชาชนให้ได้มากที่สุด
- เรียกร้องให้มีการดำเนินคดี จับกุมคณะก่อการรัฐประหาร และรัฐบาลทหาร
- ร่วมกันรณรงค์และต่อสู้ให้เกิดการ “เลือกตั้ง” เร็วที่สุด
- แพร่ภาพ และคลิปวิดิโอ ในการปราบปรามประชาชน ใช้ความรุนแรง และอำนาจเผด็จการกับประชาชนออกไปทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- ไม่จ่ายภาษีให้รัฐบาลทหาร
- ถอนเงินออกจากธนาคารให้หมด
- ส่งจดหมายของประชาชนให้ศาลไม่รับรองคณะรัฐประหาร
- จัดกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ต่อไปเป็นประจำ
- ต่อต้าน ไม่อุดหนุน แบนหน่วยงาน และสินค้าจากองค์กรที่สนับสนุนคณะรัฐประหาร
- ประท้วง ประจาน และต่อต้านนักการเมือง นักกฎหมาย นักวิชาการ สื่อมวลชนที่สนับสนุนการทำรัฐประหารอย่างเป็นรูปธรรม

2.
ต่อให้เราคนไทยคุ้นเคยกับการถูกยึดอำนาจประชาชน ด้วยการ “รัฐประหาร” มาตลอดเวลาเกือบ 100 ปีที่ผ่านมา ซึ่งมีการทำรัฐประหารมากถึง 18 ครั้ง โดยมีการเซ็นกำกับรับรองจากสถาบันกษัตริย์ จนทำให้หลายคนถูกกลืนไปด้วยความเชื่อว่าการยึดอำนาจประชาชนเป็นเรื่องปกติและ “ชอบธรรม”
แต่ความหมายที่แท้ของ “รัฐประหาร” ซึ่งแตกต่างจากการ “ปฏิวัติ” ที่เป็นการเปลี่ยนระบอบการปกครอง คือ ในขณะที่ประเทศไทยขึ้นชื่อว่าเป็น “ประชาธิปไตย” แต่ชื่อห้อยท้ายว่า “มีสถาบันกษัตริย์เป็นประมุข” นอกจากจะเป็นสัญญาณชัดเจนถึงการที่เราไม่เคยมี “ประชาธิปไตยเต็มใบ” ที่ประชาชนมีอำนาจในประเทศได้จริง อำนาจอธิปไตยของประชาชนยังสามารถถูก “ปล้น” ได้ตลอดเวลา และเป็นการปล้นอย่างชอบธรรมได้หากมีประมุขเป็นผู้รับรอง
3.
ผลจากการที่ประเทศไทยถูกกระทำ “รัฐประหาร”
ผลกระทบสำหรับประชาชน :
- ประชาชนไม่มีสิทธิ์มีเสียงในการกำหนดแนวทางการปกครองประเทศ
- ประชาชนถูกห้ามแสดงความคิดเห็น จุดยืนทางการเมืองและสังคม
- สิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็น 0
- ประชาชนสามารถถูกจับดำเนินคดีได้โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการศาล หรือสามารถขึ้นศาลทหารได้เลย
- รู้ตัวอีกทีแค่ไปยืนกินแซนด์วิชอยู่แถวหอศิลป์ก็อาจติดคุกได้
- ประชาชนไม่มีสิทธิ์รับสื่อได้อย่างเสรี อาจร้ายแรงถึงขั้นถูกจับตามองในทางออนไลน์ผ่านระบบสอดส่องแบบเผด็จการ ไม่ว่าคุณจะคุยกับใครว่าอะไร มีความคิดยังไงอยู่ รัฐบาลเผด็จการก็สามารถรับรู้และเอาผิดได้ทั้งหมด
- ภาษีเข้ากระเป๋าทหาร จ่ายเท่าไหร่ไม่ออกมาเป็นคุณภาพชีวิตประชาชน แต่ถ้ากล้าทักท้วงก็อาจถูกอุ้มฆ่าได้
ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและประเทศชาติ :
- ถูกนานาชาติคว่ำบาตร
- นานาชาติงดให้การช่วยเหลือ ยุติสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
- นักท่องเที่ยวลดลง
- เศรษฐกิจชะงัก และถดถอย เพราะทหารไม่ได้มีความสามารถในการบริหารเศรษฐกิจ
แต่สุดท้ายแล้วความหวังสูงสุดก็คือขออย่าให้การ “รัฐประหาร” เกิดขึ้นอีก และขอให้มวลชนราษฎรไทยทุกคนปลอดภัยในวันนี้
ที่มาข้อมูล