ปี 2020 เป็นอีกปีที่ชาวฝรั่งเศสต้องเจ็บปวดกับการกระทำของตำรวจ แต่ฝรั่งเศสร่างกฎหมายที่ “ทำลายเสรีภาพ” เพื่อ “ปกป้องตำรวจ”

ปี 2020 เป็นอีกปีที่ชาวฝรั่งเศสต้องเจ็บปวดกับการกระทำของตำรวจ แต่ฝรั่งเศสร่างกฎหมายที่ “ทำลายเสรีภาพ” เพื่อ “ปกป้องตำรวจ”


1-ในปี 2020 นี้ ฝรั่งเศสมีการร่างกฎหมายเพื่อปกป้องเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยเฉพาะ ได้แก่มาตรา 24 ที่ว่าด้วยการห้ามเผยแพร่ภาพหรือวิดิโอที่แสดงการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ระบุว่าเป็นการ “เจตนาทำร้าย” ประชาชน โดยที่เห็นใบหน้าของตำรวจและสามารถระบุตัวตนได้ หากฝ่าฝืนกฎหมายนี้จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปีและปรับสูงสุด 45,000 ยูโร (41,000 ปอนด์) องค์กรนักข่าวประมาณ 40 แห่งจึงได้ร่วมกันลงนามในแถลงการณ์เพื่อขอให้ Gérald Darmanin รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ถอดมาตรากฎหมายที่มีแนวโน้ม “บ่อนทำลายเสรีภาพในการนำเสนอข่าว”

2-ในขณะที่ปี 2020 นี้เป็นอีกปีที่ชาวฝรั่งเศสต้องสะเทือนใจกับการกระทำของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ควรเป็นผู้ “ปกป้อง” ความผาสุกของพวกเขา ตั้งแต่ต้นปีก็มีกรณีการเสียชีวิตของคนขับรถส่งของ Cédric Chouviat ที่พูดว่า “ฉันหายใจไม่ออก” เจ็ดครั้งในขณะที่ตำรวจกดเขาไว้กับพื้น คล้ายกันกับเรื่องของ George Floyd ในอเมริกา พอมาตอนกลางปีที่กลุ่มม็อบเสื้อเหลืองของฝรั่งเศส หรือที่เรียกว่า Gilets Jaunes (Yellow Vests) ที่ออกมาชุมนุมกันอีกครั้งสืบเนื่องมาเป็นปีที่ 3 ก็ยังโดนเจ้าหน้าที่ตำรวจปราบปรามและสลายม็อบด้วยการใช้แก๊สน้ำตา กระสุนยาง ปืนใหญ่ฉีดน้ำ

จนในเดือนกันยายน 2020 ที่ผ่านมา นักข่าวและผู้กำกับภาพยนตร์ David Dufresne จึงได้เปิดตัวสารคดีเรื่อง “Un Pays qui se Tient Sage” ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับความรุนแรงของตำรวจ

ภาพจาก : https://i.guim.co.uk/img/media/3a2824ceb9dca8ee5448cc57fcff07f6a78681e5/0_244_6194_3717/master/6194.jpg?width=620&quality=85&auto=format&fit=max&s=c0602ab67b5928220b4853cc15c00392

3-มีสื่อมวลชนหลายคนออกมาพูดและต่อต้านกฎหมายนี้ เช่นผู้สื่อข่าวจาก Sans Frontières (RSF) ก็บอกว่ากฎหมายนี้มันตีความไปได้ลื่นไหลมาก แม้แต่การโพสต์ภาพหรือวิดิโอความรุนแรงของตำรวจ หรือแค่การวิจารณ์ตำรวจในอีเมล ก็อาจทำให้ศาลตัดสินว่ามีความผิดได้ ในขณะเดียวกันเขาก็ขอการรับประกันที่ชัดเจน ว่ากฎหมายนี้จะไม่อนุญาตให้ตำรวจจับกุมนักข่าวขณะถ่ายทำ หรือกีดกันไม่ให้สื่อฯ เผยแพร่ภาพของเจ้าหน้าที่ตำรวจ

4- Claire Hédon “ผู้พิทักษ์สิทธิ” ของฝรั่งเศสก็ออกมาแสดงความกังวลว่ากฎหมายนี้จะกระทบกระเทือนต่อเสรีภาพและความเป็นส่วนตัวของสื่อและประชาชน

5-จนปลายปี 2020 ความโกรธเคืองต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจของชาวฝรั่งเศสก็ยิ่งคุกรุ่น ในเหตุการณ์การปราบปรามการชุมนุมของผู้ลี้ภัยและคนไร้บ้าน 450 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวอัฟกานิสถาน ที่ได้มาตั้งเต็นท์ตามคำร้องขอขององค์กรการกุศลยูโทเปีย 56 เพื่อเป็นการประท้วงการบังคับกวาดล้างผู้อพยพจากศูนย์พักพิงชั่วคราวในเขตชานเมืองทางตอนเหนือของ Saint-Denis
ซึ่งก่อนที่จะมีการจัดตั้งค่ายประท้วงที่ Place de la République องค์กรยูโทเปีย 56 นี้ก็ได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ทางการจัดหาที่พักพิงให้กับผู้อพยพไร้บ้านราว 3,000 คนที่อยู่รอบ ๆ ปารีสด้วย

ภาพจาก : https://i.guim.co.uk/img/media/55ae473bd0de79d5ad405f66b652b2a8b5e36a16/0_375_5626_3376/master/5626.jpg?width=620&quality=85&auto=format&fit=max&s=08281b426188081a357f784e9f5b868f

6-โดยตำรวจและทหารถูกส่งไปเพื่อเคลียร์ค่ายจากจัตุรัสกลางกรุงปารีส ด้วยการรื้อเต็นท์ของผู้อพยพที่ปักหลักอยู่ ดึงตัวผู้อพยพออกมาจากเต็นท์ กระแทกพวกเขาด้วยโล่ตำรวจ ดันพวกเขาไปตามถนน และยังปราบปรามทั้งผู้อพยพและสื่อมวลชนด้วยการใช้แก๊สน้ำตา ซึ่งบรรดาทนายความ ส.ส. และสมาชิกสภา ก็พยายามห้ามเจ้าหน้าที่แล้วแต่ไม่เป็นผล ในขณะที่กระแสการต่อต้านกฎหมายที่จะทำให้ตำรวจมีอำนาจมากขึ้น และถูกมองว่าเป็นภัยคุกคามต่อเสรีภาพของสื่อมวลชนยังคงคุกรุ่น

7-Anne Hidalgo นายกเทศมนตรีกรุงปารีส ก็ออกมาแสดงความขุ่นเคืองต่อการกระทำของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่มีความ “เกินกว่าเหตุ” และยังบอกว่าการทำลายค่ายของผู้อพยพเป็นการปฏิเสธ “มนุษยธรรม” และเธอยังร่อนจดหมายไปถึงรัฐมนตรีกลาโหมเป็นการถามไถ่ถึงเรื่องนี้ด้วย

8-Gérald Darmanin รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมของฝรั่งเศสก็ออกมาแสดงท่าทีกังวลเหมือนกัน เพราะว่าภาพความป่าเถื่อนของเจ้าหน้าที่ตำรวจชัดเจนมาก และบอกว่าจะขอให้ IGPN ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านวินัยภายในของกองกำลังตรวจสอบเหตุการณ์ที่ “ไม่สามารถยอมรับได้” เหล่านี้
แต่เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา Darmanin เองก็เคยออกมาแสดงความสะเทือนใจกับกรณีที่มีคนเสียชีวิตคล้าย George Floyd แต่ก็ยังเสริมว่า “ตำรวจใช้ความรุนแรงอย่างแน่นอน แต่มันเป็นการใช้ความรุนแรงที่ถูกต้องตามกฎหมาย… และการที่มีเจ้าหน้าที่เพียงไม่กี่คนทำนอกเหนือจากกฎของวิชาชีพควรมีการลงโทษทันที แต่เป็นเรื่องปกติที่ตำรวจและทหารจะมีอาวุธเข้าแทรกแซงด้วย เพื่อให้กองกำลังยังขึ้นอยู่กับสาธารณรัฐและไม่อยู่ภายใต้กฎหมู่ของมวลชน”

ภาพจาก : https://i.guim.co.uk/img/media/860e15bef6bfe4d87bb88654210e77a50ae573d7/0_0_4200_2800/master/4200.jpg?width=620&quality=85&auto=format&fit=max&s=9a7140e13329514634eb644cf48d5fa6

9-และในขณะที่กฎหมายมาตรา 24 นี้ต้องการให้สื่อฯ ปิดบังใบหน้าของเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อเป็นการ “ปกป้องผู้ที่ปกป้องเรา” บรรดาสื่อมวลชน และประชาชนที่ถูกปราบปรามรุนแรงโดยเจ้าหน้าที่ กลับต้องใช้สิ่งเหล่านั้นเป็นหลักฐานสำคัญเพื่อทวงความยุติธรรมให้ตัวเอง

การกระทำของตำรวจถูกฟ้องดำเนินคดีต่อศาลเป็นกิจลักษณะ 2 คดี คดีแรกเป็นการที่ตำรวจตั้งใจขัดขาผู้อพยพที่กำลังวิ่งอยู่ ซึ่งมีภาพหลักฐานชัดเจน อีกคดีคือ Rémy Buisine นักข่าวของเว็บไซต์ข่าว Brut อ้างว่าเขาถูกเจ้าหน้าที่คนเดียวกันทำร้าย “สามครั้ง” ในช่วงค่ำวันนั้น ด้วยการกดเขาลงพื้นและข่มขู่

10- Matthieu Valet ผู้บัญชาการตำรวจฝรั่งเศสกล่าวกับนิตยสาร Marianne ว่า “ภาพเหล่านี้เป็นภาพที่หายนะ แต่พฤติกรรมนี้ไม่ได้แสดงถึงตำรวจทั้งหมด” ทั้งยังกล่าวหาองค์กรด้านมนุษยธรรมว่า “ใช้ความทุกข์ยากของมนุษย์เพื่อให้ได้ภาพที่น่าตกใจ” พร้อมกับแก้ต่างว่า “เจ้าหน้าที่ตำรวจถูกใช้ความรุนแรงทุกวัน”

11-ผู้เชี่ยวชาญของสหประชาชาติได้เรียกร้องให้ฝรั่งเศสแก้ไขกฎหมายมาตรา 24 ที่เป็นปัญหาต่อเสรีภาพของสื่อมวลชนและประชาชนเพื่อปกป้องเจ้าหน้าที่ตำรวจนี้ โดยมีการส่งผู้สื่อข่าวอิสระของสหประชาชาติ 5 คนคอยดูแลให้คำปรึกษารัฐบาลฝรั่งเศสในการแก้กฎหมาย และยังเพ่งเล็งไปยังมาตรา 22 ที่ว่าด้วยการอนุญาตให้เจ้าหน้าที่บินโดรนเพื่อสำรวจมวลชน ด้วยเหตุผลเพื่อการเฝ้าระวังในนามของความมั่นคงและการต่อสู้กับการก่อการร้ายด้วย จนสุดท้ายรัฐบาลฝรั่งเศสก็ยอมที่จะเขียนมาตรา 24 ใหม่


ขอบคุณภาพประกอบจาก : https://i.guim.co.uk/img/media/eb464f9307ecefe4163d3fae97cbaf83be48fec1/0_232_3500_2101/master/3500.jpg?width=620&quality=85&auto=format&fit=max&s=ec076d882a2b8f1ef3e3833df249768b

ที่มาข้อมูล

1- https://www.theguardian.com/world/2020/nov/09/french-law-protect-police-press-freedom-journalists-ban-intent-harm

2-https://www.theguardian.com/world/2020/nov/24/french-minister-calls-images-of-police-breaking-up-refugee-camp-shocking

3- https://www.theguardian.com/world/2020/nov/25/police-investigated-alleged-violence-paris-migrant-camp-afghans

4- https://www.theguardian.com/world/2020/dec/04/france-security-law-incompatible-human-rights-un-experts

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *