การปฏิเสธ “สิทธิมนุษยชน” ทั้งที่ตนก็เป็น “มนุษย์” …เกิดขึ้นได้เมื่อคนเรามั่นใจว่าตนเป็นมนุษย์ที่ดีกว่า จนได้รับอภิสิทธิ์ช่วยผู้มีอำนาจจำกัดสิทธิเสรีภาพคนอื่น

ความเชื่อใน “ความไม่เท่าเทียม” ทำให้เกิดการสนับสนุนให้มีการ “ละเมิดสิทธิมนุษยชน” แทนที่จะรักษาไว้เผื่อตนเอง
มาจากความมั่นใจอย่างสุดโต่ง ว่าตนเป็นผู้มีอภิสิทธิ์ในระบอบอำนาจนิยม จนไม่ต้องเผชิญกับความไม่เป็นธรรมใดตามมาตรฐานของคนทั่วไป

คนที่มีบุคลิกแบบ “เผด็จการ” ไม่ว่าจะเชียร์ม็อบไหนก็เป็นทาสอำนาจนิยมและมนุษยธรรมมีปัญหาอยู่ดี

ไม่ว่าจะฝักใฝ่ขั้วการเมืองใด “คนเผด็จการ” มักมีโลกทัศน์เป็นสี “ขาว” และ “ดำ” แบบชัดเจน ทั้งยังโหยหา “อำนาจนิยม” เพื่อให้พวกเขายึดไว้ และใช้มันฟาดใครก็ตามที่รุกราน “อัตตา” ของพวกเขา

“วัฒนธรรมผักชีโรยหน้า”…ค่านิยม “หลอกตัวเอง” สร้างภาพลวงตาทับความเป็นจริงที่ฝังกลบความเจริญของประเทศไทยไว้จนมิด

“วัฒนธรรมผักชีโรยหน้า” พัฒนาแบบขอไปทีเหล่านี้ ไม่ใช่แค่ภาพของปัญหา “วัฒนธรรมเช้าชามเย็นชาม” ที่เกิดจากคนทำงานที่ไม่เหมาะกับงาน หรือ passion ของข้าราชการไทยที่หดหายตามฐานเงินเดือนเท่านั้น
แต่แท้ที่จริงคือการ “หลอกตัวเอง” อย่างตั้งใจไปพร้อมๆ กับ “หลอกสังคม” เพื่อสร้างภาพลวงตาเข้าข้างตัวเองร่วมกันด้วย

มนุษย์ “ขี้เหยียด” เพราะ “ความรู้สึกไม่มั่นคง” ในตัวเอง…เพียง “ความแตกต่าง” จึงกลายเป็นภัยของเผ่าพันธุ์ โดยเฉพาะในสังคมที่ทำให้ผู้คนรู้สึกขาดแคลนจนกลัวถูกแย่งทรัพยากร

พฤติกรรมการ “เหยียด” นี้มีเบื้องลึกเบื้องหลังมาจาก “ความรู้สึกไม่มั่นคง” ทั้งต่อสังคมที่อยู่ และรู้สึกไม่มั่นคงในตัวเอง
จึงไม่แปลกที่คนต่างจังหวัดที่พากันเข้ามาหางานทำในเมืองหลวงกลายเป็นกลุ่มที่ถูกดูแคลนที่สุด ด้วยความรู้สึกกลัวว่าทรัพยากรและโอกาสที่มีจำกัดอยู่แล้ว จะยิ่ง “ไม่พอ” เข้าไปอีก

การเป็นมิตรกับ “ความตาย” ทำให้มนุษย์ดื่มด่ำกับชีวิตได้มากกว่าและมีมนุษยธรรมมากกว่า…ในขณะที่“ความกลัวตาย”บั่นทอนความมีเมตตา และทำให้มนุษย์โหยหาอำนาจเผด็จการ

มนุษย์ที่ได้ขบคิดเรื่องความตาย รู้สึกว่าความตายนั้นใกล้ตัวจนรู้สึกกลัว มีแนวโน้มตัดสินสิ่งต่างๆ โดยสนับสนุนอุดมคติเกี่ยวกับความหมายของชีวิตแบบที่พวกเขาเชื่อ เพื่อทำให้รู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง แม้ว่า “อุดมคติ” เหล่านั้นจะขัดกับหลักมนุษยธรรม ขัดขวางเสรีภาพของผู้อื่น หรือต้องห้ำหั่นกับเพื่อนมนุษย์ที่มีแนวคิดต่างจากตนก็ตาม

“เผด็จการความศรัทธา”มาพร้อมกับอำนาจนิยม…เพราะประเทศนี้อุดมไปด้วยศาสนิกคลั่งอัตตาและคลั่งอำนาจ แม้แต่สิทธิการ “กราบ” จึงถูกจำกัด

หากคนไทยตระหนักเรื่อง “สิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล” ได้อย่างแท้จริง คงสามารถเข้าใจได้ง่ายว่าเรื่องของ “ศรัทธา” มีเพียงการตระหนักว่า ใครใคร่ “กราบ” ก็กราบ ใครใคร่เชื่อก็เชื่อไป และไม่ควรมีใครมาวุ่นวายกับคนไม่กราบ หรือคนที่เลือกกราบสิ่งอื่นเท่านั้นเอง

“ความดีย์” ของเธออาจไม่ใช่ความดีแบบของฉัน… ไม่แปลกที่“ไม้บรรทัดความดี”ของมนุษย์ต่างกัน แต่ความสามานย์คือรัฐที่จำกัดเงื่อนไขความดีเป็นกฎหมายเพื่อลิดรอนทางเลือกอื่น

การที่ “เกณฑ์ศีลธรรมในอุดมคติ” ส่งผลต่อทัศนคติทางการเมืองของมนุษย์ต่างกันไม่ใช่เรื่องผิด แต่ความสามานย์คือการที่บางประเทศมี “ระบอบเผด็จการ” กีดกันไม่ให้ประชาชนมีสิทธิ์เลือกใช้ชีวิตตามเกณฑ์ความดีของพวกเขา

Don’t kill me with your Ego. สิ่งที่ทำลายอนาคตของคนรุ่นใหม่อย่างแท้จริง คือ “อีโก้” สูงลิ่ว และ “ภาพลวงตาเชิงบวก” ของคนรุ่นก่อนที่ไม่ยอมปล่อยมือจากอำนาจในการควบคุมโลก

ความจริงแล้วมนุษย์ทุกคนสามารถตกอยู่ในความยึดติด “ภาพลวงตาเชิงบวก” ของตัวเองได้ทั้งนั้น
แต่อันตรายคือการที่ภาพลวงตาจากอีโก้อันสูงลิ่วของคนไม่กี่คน มีผลต่อความเป็นความตาย และคุณภาพชีวิตของคนหมู่มาก โดยเฉพาะหากในสังคมนั้นไม่มีระบบคอยคานอำนาจ หรือตรวจสอบไม่ให้ “อีโก้” เหล่านี้มีอำนาจเบ็ดเสร็จ

ชวนดู Sex Education ซีซั่น 3 ซีรีส์ที่ไม่ได้สอนแค่เรื่องเพศศึกษาแบบเข้าใจง่าย…แต่ซีซั่นนี้ยังคล้าย “สังคมไทย” แบบจำลอง

ใน Sex Edudation ซีซั่น 3 ดร.จีน มิลเบิร์น นักจิตวิทยาด้านความสัมพันธ์และ Sex ให้สัมภาษณ์ในรายการทีวีว่า “โรงเรียนที่สอนให้วัยรุ่นรักนวสงวนตัว มีอัตราวัยรุ่นท้องและติดโรคสูงกว่าโรงเรียนที่สอนเรื่องเพศแบบเปิดกว้าง”
ไม่ต่างจากประเทศแถวนี้ที่สอนให้คนระงับความต้องการทางเพศเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาทางเพศ

ไม่แปลกที่สังคมอุดม “อำนาจนิยม” จะเต็มไปด้วย “พ่อแม่ที่เป็นพิษ” และค่านิยม normalize การทารุณกรรมเด็ก…เพราะคนที่ถูกเลี้ยงมาด้วย “ความกลัว” ย่อมป้อนสิ่งเดียวกันต่อคนรุ่นถัดไป

เหยื่อของพ่อแม่เป็นพิษที่เลี้ยงดูลูกด้วยความกลัว เมื่อโตขึ้นกลายเป็นพ่อแม่คน เป็นครูสอนนักเรียน เป็นผู้กำหนดหลักสูตรการศึกษา เป็นรัฐมนตรีที่ดูแลการศึกษาและเยาวชน เป็นผู้นำประเทศ ฯลฯ
จึงส่งต่อ “วิธีสร้างคน” แบบที่เคยสร้างพวกเขามาไปยังรุ่นถัดไป

1 2 3 11