“Moral License”หรือ “บัตรผ่านความดี” เป็นคำที่ใช้ในวงการจิตวิทยาสังคมหรือการตลาด อธิบายถึงปรากฏการณ์ทางจิตใต้สำนึกที่ผู้คนทำเพื่อปกป้องภาพลักษณ์ การรับรู้คุณค่าตนเอง ก่อนหรือหลังการทำพฤติกรรมที่ขัดกับอุดมคติความดีของตนหรือสังคม
เดือน: กุมภาพันธ์ 2021
7 ค่านิยมสิ้นคิดสุดคลาสสิคในละครไทย ผลิตซ้ำค่านิยมเป็นพิษสู่สังคม
จากกระแส #ข่มขืนผ่านจอพอกันที #แบนเมียจำเป็น ทำให้เห็นว่าแม้ว่าเราจะมาถึงปีพ.ศ.2564 กันแล้ว แต่เรายังคงเห็นฉาก “ข่มขืน” ล่วงละเมิดทางเพศ ความรุนแรงทางเพศ อยู่ใน “ละครรัก” บนโทรทัศน์ไทยได้อย่างเป็นเรื่องปกติ
ซึ่งไม่ได้เป็นการจรรโลงใจหรือจรรโลงสังคมในทางใดได้เลย นอกจากบ่มเพาะค่านิยม ทัศนคติ และวัฒนธรรมความรุนแรงทางเพศนี้ให้เป็นเรื่องปกติ และเรื่องบันเทิง
ครบรอบ 1 ปี #กราดยิงโคราช ไว้อาลัยผู้สูญเสีย ไว้อาลัยสำนึกรับผิดชอบของทหารไทย ไว้อาลัยสื่อไร้จรรยาบรรณที่ยังคงคุณภาพ
หนึ่งปีที่ผ่านไป แม้คนไทยจะไม่ลืมโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้น แต่ผู้ที่ต้องรับผิดชอบกับความเสียหาย และ “คำสัญญา” ที่จะปรับปรุงตัว กลับลืมไปแล้วสิ้น… และความ “ลืมง่าย” และ “ไม่รับรู้บทเรียน” เหล่านี้คือสิ่งที่ทำให้สังคมไทยยังวนลูปอยู่กับหลาย ๆ วัฒนธรรม หลาย ๆ การกระทำที่ “แช่แข็ง” การพัฒนาประเทศต่อไป
หมอดูที่แม่นที่สุดคือตัวเราเอง… เพราะคนเรามักจะทำให้ชีวิตเป็นไปตามที่ตัวเอง “เชื่อ” ว่าจะเป็น
Self-Fulfilling Prophecy นี้ว่าด้วยหลักการที่ว่า “ความเชื่อ” หรือ “คำทำนาย” ที่คนเรายึดถือคาดการณ์ และคาดหวังไว้ ทำให้ผู้คนมีแนวโน้มทำพฤติกรรมใด ๆ เพื่อให้ความเชื่อและการคาดหวังนั้นเป็นจริงในที่สุด
“Unorthodox”(2020) ฉายภาพ “ปิตาธิปไตย” บริสุทธิ์ 100% ที่ให้ค่าชีวิตผู้หญิงแค่เครื่องผลิตลูก และอุปกรณ์สำเร็จความใคร่ให้ผู้ชายอย่างชอบธรรมในกรอบของ “ศาสนา”
ถ้าดู “Bridgerton” แล้วโมโหถึงความเป็น “ปิตาธิปไตย” เคลือบน้ำตาลสีหวานในซีรีส์เรื่องนั้นแล้ว บอกเลยว่า “Unorthodox”(2020) จะทำให้คุณสบถออกมาได้ไม่ยาก
เพราะคิดว่าตัวเองสูงกว่า เลยไม่เห็นหัวคนอื่น จากกระแส #2021ราตรี สู่ #JusticeForVicha สองสิ่งนี้ชี้ให้เราเห็นการเข้าใจ “ความเป็นอื่น”
ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นช่วงช่วงต้นปี 2021 ชี้ให้เห็นถึงอะไร
“พม่า” หรือ “เมียนมาร์” ? โลกอาจกลับมาเรียก “ชื่อเก่า” อีกครั้ง ด้วยนัยยะต่อต้านความเป็นเผด็จการ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อใหม่
การเปลี่ยนจาก “พม่า” เป็น “เมียนมาร์” เกิดขึ้นหลังจากที่คณะรัฐประหารได้ทำการปราบปรามการจลาจลของชาวพม่าที่เรียกร้องประชาธิปไตยหลายพันคนอย่างไร้ความปราณี ซึ่งหลักจากที่ผู้นำกองทัพได้ขึ้นเป็นผู้นำประเทศ เขาได้เปลี่ยนชื่อประเทศ “พม่า” ที่เป็นชื่อเดิมตั้งแต่ยังเป็นประเทศอาณานิคม มาเป็นชื่อ “เมียนมาร์”
Facebook ต้องเลือกข้างแล้ว… ว่าจะอนุโลมให้เผด็จการและ IO พม่าใช้เฟซบุคได้ หรือจะไม่ให้คนพม่าทั้งหมดได้ใช้เฟซบุคเลย
Facebook.Inc กำลังต้องเลือกระหว่างการเป็นแพล็ตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่สนับสนุน “Free speech” บนการไม่สนับสนุนการก่อความรุนแรงและความเกลียดชัง ที่มี “จุดยืน” เคียงข้างเสรีภาพและประชาธิปไตย หรือจะเป็นสื่อ Free speech ที่ปล่อยให้มีการใช้สื่ออย่างอิสระแม้เพื่อเป็นการกระทำ ”เผด็จการ” ก็ตาม
คนเรามักโอ้อวดเกินจริง เพราะรู้สึกเปราะบาง ยิ่งความเคารพตัวเองต่ำแค่ไหน ยิ่งมีแนวโน้มเป็น “โรคหลงตัวเอง”(Narcissistic) มากขึ้นเท่านั้น
การมั่นใจในตัวเอง ภาคภูมิใจในตัวเอง และให้คุณค่าตัวเอง “สูงไป” จนบางครั้งลืมคำนึงถึง “ความเห็นอกเห็นใจ”(Empathy) ไปจนถึงการไม่ตระหนักว่าตนสามารถทำร้ายคนอื่นได้ ด้วยการกระทำที่ตนไม่รู้ตัว เพราะไม่เคยยอมรับความผิดของตน
ล้วนเป็นอาการของ “โรคหลงตัวเอง” หรือ Narcisistic Personality Disorder ซึ่งเป็นอาการป่วยที่เกิดจากทัศนคติหลงผิด
Quotes – Aung San Suu Kyi
“สิ่งสำคัญที่สุดของฉันคือการช่วยให้ผู้คนรู้ว่า พวกเขามีอำนาจที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งต่าง ๆ ได้ด้วยตัวพวกเขาเอง”
“My top priority is for people to understand that they have the power to change things themselves.”
– อองซานซูจี