มนุษย์ “ขี้เหยียด” เพราะ “ความรู้สึกไม่มั่นคง” ในตัวเอง…เพียง “ความแตกต่าง” จึงกลายเป็นภัยของเผ่าพันธุ์ โดยเฉพาะในสังคมที่ทำให้ผู้คนรู้สึกขาดแคลนจนกลัวถูกแย่งทรัพยากร

พฤติกรรมการ “เหยียด” นี้มีเบื้องลึกเบื้องหลังมาจาก “ความรู้สึกไม่มั่นคง” ทั้งต่อสังคมที่อยู่ และรู้สึกไม่มั่นคงในตัวเอง
จึงไม่แปลกที่คนต่างจังหวัดที่พากันเข้ามาหางานทำในเมืองหลวงกลายเป็นกลุ่มที่ถูกดูแคลนที่สุด ด้วยความรู้สึกกลัวว่าทรัพยากรและโอกาสที่มีจำกัดอยู่แล้ว จะยิ่ง “ไม่พอ” เข้าไปอีก

การเป็นมิตรกับ “ความตาย” ทำให้มนุษย์ดื่มด่ำกับชีวิตได้มากกว่าและมีมนุษยธรรมมากกว่า…ในขณะที่“ความกลัวตาย”บั่นทอนความมีเมตตา และทำให้มนุษย์โหยหาอำนาจเผด็จการ

มนุษย์ที่ได้ขบคิดเรื่องความตาย รู้สึกว่าความตายนั้นใกล้ตัวจนรู้สึกกลัว มีแนวโน้มตัดสินสิ่งต่างๆ โดยสนับสนุนอุดมคติเกี่ยวกับความหมายของชีวิตแบบที่พวกเขาเชื่อ เพื่อทำให้รู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง แม้ว่า “อุดมคติ” เหล่านั้นจะขัดกับหลักมนุษยธรรม ขัดขวางเสรีภาพของผู้อื่น หรือต้องห้ำหั่นกับเพื่อนมนุษย์ที่มีแนวคิดต่างจากตนก็ตาม

ปลายยอดของภูเขาน้ำแข็งแห่งอภิสิทธิชน

คิดๆ ดูแล้ว เสียงลือเสียงเล่าอ้างเรื่องการจัดสรรวัคซีนเพื่อ VVIP หรือการสร้างเกณฑ์ยุ่งยากให้กับบุคลากรทางการแพทย์ในการรับวัคซีน mRNA มันก็เป็นปลายยอดของภูเขาน้ำแข็ง ที่เป็นผลผลิตของวัฒนธรรมอำนาจนิยมที่ฝังลึกในสังคมไทยมานาน ซึ่งเป็นวัฒนธรรมการบูชา “อภิสิทธิ” ที่เราเห็นจนชินตานั่นแหละ

ภัยความมั่น ทำไมคนโง่มักมั่นใจล้นๆ เสมอ ทั้งๆ ที่ตัวเองก็ไม่รู้จริง

เคยเห็นกันอีกใช่ไหมว่า คนบางคนที่พูดบางเรื่องอย่างมั่นอกมั่นใจว่าตัวเองรู้ดีที่สุดในสามโลก พอโดนแย้งกลับใช้เสียงดังเข้าข่ม ประหนึ่งมีกฎการการเถียงไว้ว่า “ใครเสียงดังกว่าเป็นผู้ชนะ” หรือ “ใครพูดคนสุดท้ายชนะ” ไปเสียได้ “ภัยความมั่น” เหล่านี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร ทางจิตวิทยามีคำตอบ

ด่ารัฐบาล ไม่เท่ากับ เลิกเป็นสลิ่ม ถ้ายังติดกับดักอำนาจนิยม ลองเช็คตัวเองกับ 5 คำถามนี้ดู

แค่การออกมาตำหนิรัฐบาล จะถือว่าคนๆนั้น หลุดพ้นจากการเป็นสลิ่มแล้ว ถามจริงว่ามันไม่ง่ายไปหน่อยหรือ เราก็เลยมีคำถาม checklist เบื้องต้นมาให้ดูกันว่าเรามีแนวโน้มจะเป็นสลิ่มหรือไม่ ลองทดสอบกันเลย

หมอดูที่แม่นที่สุดคือตัวเราเอง… เพราะคนเรามักจะทำให้ชีวิตเป็นไปตามที่ตัวเอง “เชื่อ” ว่าจะเป็น

Self-Fulfilling Prophecy นี้ว่าด้วยหลักการที่ว่า “ความเชื่อ” หรือ “คำทำนาย” ที่คนเรายึดถือคาดการณ์ และคาดหวังไว้ ทำให้ผู้คนมีแนวโน้มทำพฤติกรรมใด ๆ เพื่อให้ความเชื่อและการคาดหวังนั้นเป็นจริงในที่สุด

เพราะ “ความเมตตา” ของมนุษย์มีขีดจำกัด… ภาพของ “เหยื่อคนเดียว” จึงสร้างพลังแห่งความเห็นอกเห็นใจได้มากกว่าเหยื่อนับพัน

ทำไมภาพของ “เหยื่อ” จากการถูกล่วงละเมิดทางเพศในโรงเรียน ถึงสร้างแรงกระเพื่อมแห่งความโกรธ และความเห็นอกเห็นใจ ได้มากกว่าตัวเลขสถิติของผู้ที่ถูกล่วงละเมิดโดยบุคลากรในโรงเรียนทั้งปี ที่มีจำนวนมากจนน่าตกใจ
เป็นเพราะความจริงแล้ว “ความเมตตา” ของมนุษย์มีขีดจำกัด เพราะภาวะที่เรียกว่า “Psychic Numbing” หรือ “ความมึนงงทางจิต” ที่ทำให้เกิดการ Lack ส่งผลให้ความเห็นอกเห็นใจของมนุษย์มีขีดจำกัด

Lack of Humanity ที่โหดร้ายแต่จริง เหตุผลของความเป็น “สลิ่ม” และ “Ignorant” ที่ไม่รู้สึกรู้สากับการกระทำที่ไร้มนุษยธรรมและความไม่เป็นธรรมทั้งปวง

มนุษย์มีแนวโน้มเชื่อใน “กรรม” และมีสัญชาติญาณเพื่อความอยู่รอดที่ทำให้ตนรู้สึกปลอดภัย
ด้วยการเชื่อว่าโลกนี้มีความยุติธรรมของมันอยู่ และผู้คนที่เคราะห์ร้าย ถูกกดขี่ ถูกทำร้ายในสังคม เป็นเพราะพวกเขา “สมควร” ได้รับสิ่งเหล่านั้นแล้วด้วยเหตุผลอะไรสักอย่าง เพราะจักรวาลจะตอบแทนมนุษย์ในสิ่งที่มนุษย์คู่ควรได้รับ ไม่ว่าจะเป็น “รางวัล” หรือ “เคราะห์ร้าย”

“Body Shaming” ฆ่าคนได้…

การ “วิจารณ์” ไม่ใช่การ “ติเพื่อก่อ” เสมอไป โดยเฉพาะเมื่อเป็นการวิจารณ์รูปร่างและรูปลักษณ์ ที่ทำให้ผู้ถูกวิจารณ์มีทัศนคติลบต่อภาพลักษณ์ของตัวเอง และทุกๆ 62 นาทีมีผู้เสียชีวิตจากภาวะการกินที่ผิดปกติ(Eating Disorder) ซึ่งเป็นความป่วยที่ล้วนเกิดจากการ “ไม่ชอบตัวเอง”