การปฏิเสธ “สิทธิมนุษยชน” ทั้งที่ตนก็เป็น “มนุษย์” …เกิดขึ้นได้เมื่อคนเรามั่นใจว่าตนเป็นมนุษย์ที่ดีกว่า จนได้รับอภิสิทธิ์ช่วยผู้มีอำนาจจำกัดสิทธิเสรีภาพคนอื่น

ความเชื่อใน “ความไม่เท่าเทียม” ทำให้เกิดการสนับสนุนให้มีการ “ละเมิดสิทธิมนุษยชน” แทนที่จะรักษาไว้เผื่อตนเอง
มาจากความมั่นใจอย่างสุดโต่ง ว่าตนเป็นผู้มีอภิสิทธิ์ในระบอบอำนาจนิยม จนไม่ต้องเผชิญกับความไม่เป็นธรรมใดตามมาตรฐานของคนทั่วไป

คนที่มีบุคลิกแบบ “เผด็จการ” ไม่ว่าจะเชียร์ม็อบไหนก็เป็นทาสอำนาจนิยมและมนุษยธรรมมีปัญหาอยู่ดี

ไม่ว่าจะฝักใฝ่ขั้วการเมืองใด “คนเผด็จการ” มักมีโลกทัศน์เป็นสี “ขาว” และ “ดำ” แบบชัดเจน ทั้งยังโหยหา “อำนาจนิยม” เพื่อให้พวกเขายึดไว้ และใช้มันฟาดใครก็ตามที่รุกราน “อัตตา” ของพวกเขา

“วัฒนธรรมผักชีโรยหน้า”…ค่านิยม “หลอกตัวเอง” สร้างภาพลวงตาทับความเป็นจริงที่ฝังกลบความเจริญของประเทศไทยไว้จนมิด

“วัฒนธรรมผักชีโรยหน้า” พัฒนาแบบขอไปทีเหล่านี้ ไม่ใช่แค่ภาพของปัญหา “วัฒนธรรมเช้าชามเย็นชาม” ที่เกิดจากคนทำงานที่ไม่เหมาะกับงาน หรือ passion ของข้าราชการไทยที่หดหายตามฐานเงินเดือนเท่านั้น
แต่แท้ที่จริงคือการ “หลอกตัวเอง” อย่างตั้งใจไปพร้อมๆ กับ “หลอกสังคม” เพื่อสร้างภาพลวงตาเข้าข้างตัวเองร่วมกันด้วย

มนุษย์ “ขี้เหยียด” เพราะ “ความรู้สึกไม่มั่นคง” ในตัวเอง…เพียง “ความแตกต่าง” จึงกลายเป็นภัยของเผ่าพันธุ์ โดยเฉพาะในสังคมที่ทำให้ผู้คนรู้สึกขาดแคลนจนกลัวถูกแย่งทรัพยากร

พฤติกรรมการ “เหยียด” นี้มีเบื้องลึกเบื้องหลังมาจาก “ความรู้สึกไม่มั่นคง” ทั้งต่อสังคมที่อยู่ และรู้สึกไม่มั่นคงในตัวเอง
จึงไม่แปลกที่คนต่างจังหวัดที่พากันเข้ามาหางานทำในเมืองหลวงกลายเป็นกลุ่มที่ถูกดูแคลนที่สุด ด้วยความรู้สึกกลัวว่าทรัพยากรและโอกาสที่มีจำกัดอยู่แล้ว จะยิ่ง “ไม่พอ” เข้าไปอีก

การเป็นมิตรกับ “ความตาย” ทำให้มนุษย์ดื่มด่ำกับชีวิตได้มากกว่าและมีมนุษยธรรมมากกว่า…ในขณะที่“ความกลัวตาย”บั่นทอนความมีเมตตา และทำให้มนุษย์โหยหาอำนาจเผด็จการ

มนุษย์ที่ได้ขบคิดเรื่องความตาย รู้สึกว่าความตายนั้นใกล้ตัวจนรู้สึกกลัว มีแนวโน้มตัดสินสิ่งต่างๆ โดยสนับสนุนอุดมคติเกี่ยวกับความหมายของชีวิตแบบที่พวกเขาเชื่อ เพื่อทำให้รู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง แม้ว่า “อุดมคติ” เหล่านั้นจะขัดกับหลักมนุษยธรรม ขัดขวางเสรีภาพของผู้อื่น หรือต้องห้ำหั่นกับเพื่อนมนุษย์ที่มีแนวคิดต่างจากตนก็ตาม

“เผด็จการความศรัทธา”มาพร้อมกับอำนาจนิยม…เพราะประเทศนี้อุดมไปด้วยศาสนิกคลั่งอัตตาและคลั่งอำนาจ แม้แต่สิทธิการ “กราบ” จึงถูกจำกัด

หากคนไทยตระหนักเรื่อง “สิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล” ได้อย่างแท้จริง คงสามารถเข้าใจได้ง่ายว่าเรื่องของ “ศรัทธา” มีเพียงการตระหนักว่า ใครใคร่ “กราบ” ก็กราบ ใครใคร่เชื่อก็เชื่อไป และไม่ควรมีใครมาวุ่นวายกับคนไม่กราบ หรือคนที่เลือกกราบสิ่งอื่นเท่านั้นเอง

ชวนดูซีรีส์ “Young Royals” เมื่อมกุฏราชกุมารแห่งสวีเดนต้องมาเรียนไฮสคูลร่วมกับสามัญชน… คนที่ไม่อยากให้สังคม “เท่าเทียม” คือพวกที่อยากฉกฉวยผลประโยชน์จากช่องโหว่แห่งความเหลื่อมล้ำ

ทัศนคติแห่งความเสมอภาคที่มาจากการได้รับการสนับสนุนดูแลจากรับอย่างเท่าเทียม จนเกิดการตระหนักถึงความเสมอภาคที่จับต้องได้ของชาวสวีเดน จึงทำให้คนเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องสปอยล์ลูกคนรวย แม้แต่ลูกกษัตริย์ก็ตาม และจะไม่สอนให้ลูกตัวเองศิโรราบให้กับอำนาจนิยมที่แสนไร้ประโยชน์ในสังคมที่ความเท่าเทียมและความเป็นธรรมไม่ได้มีราคาแพง

มายเซ็ต “บ้าความสำเร็จ” แบบไลฟ์โค้ชไทยทำลายสังคมได้มากกว่าที่คิด เพราะแก่นคือการส่งเสริมให้คนฉกฉวยผลประโยชน์จากความเหลื่อมล้ำ และมองข้ามปัญหาเชิงระบบ

ในขณะที่ไลฟ์โค้ชเหล่านี้พร่ำสอนเรื่อง “กฎแรงดึงดูด” ที่จำเป็นต้องเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนล้วนมีพลังที่จะเปลี่ยนแปลงชีวิตตัวเองและโลกได้โดยเริ่มต้นจาก “ความคิด” แต่กลับสอนให้ผู้คนดูถูกพลังของตัวเอง ไม่ให้เชื่อว่าเสียงของทุกคนนั้นมีคุณค่าที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงในสังคม

ด่ารัฐบาล ไม่เท่ากับ เลิกเป็นสลิ่ม ถ้ายังติดกับดักอำนาจนิยม ลองเช็คตัวเองกับ 5 คำถามนี้ดู

แค่การออกมาตำหนิรัฐบาล จะถือว่าคนๆนั้น หลุดพ้นจากการเป็นสลิ่มแล้ว ถามจริงว่ามันไม่ง่ายไปหน่อยหรือ เราก็เลยมีคำถาม checklist เบื้องต้นมาให้ดูกันว่าเรามีแนวโน้มจะเป็นสลิ่มหรือไม่ ลองทดสอบกันเลย

สารตั้งต้นแห่งความเป็นทาส “อำนาจนิยม” ทำร้ายเราอย่างไร

สิ่งหนึ่งที่แนวคิด “อำนาจนิยม” ทำร้ายสังคมไทย คือการกดหัวให้คนหงอกับผู้มีอำนาจเหนือกว่า และกร่างกับคนที่มีอำนาจเท่ากันหรือด้อยอำนาจมากกว่าแทน เพื่อชดเชยกับการที่ตัวเองโดนคนมีอำนาจเหนือกว่ากดหัว